ยูนิคอรน์รายแรกของประเทศไทย หลายๆ คนได้ยินคำนี้อาจจะเข้าใจผิดว่าหมายถึงม้ายูนิคอรน์ ในตำนานเทพนิยายหรือเปล่า แต่ในความเป็นจริงของการสื่อสารในเชิงธุรกิจนั้น ไม่ได้หมายถึงเช่นนั้น แต่ คำว่า ยูนิคอร์น หรือที่เขียนตามภาษาอังกฤษนั้น UNICORN คือหมายถึงกลุ่มธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าของบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งในต่างประเทศทั่วโลกเราจะเห็น บริษัทเหล่านี้ดังๆ อยู่มากมายและก็ไม่ได้ไกลตัวเราอย่าง บริษัท Airbnb , Uber หรือ Snapchat ที่เราคนไทยคุ้นเคยและมีการใช้บริการกันอยู่แล้ว ส่วนสตาร์ทอัพ ของประเทศจีนที่ดังๆ ก็จะมี Xiaomi หรือ Didi Chuxing ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแอปเรียกแท็กซี่รายใหญ่ในประเทศจีน ก็ผ่านสูตรสำเร็จคำว่า Unicorn ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คราวนี้เรามาลองดูของประเทศไทยกันบ้าง ว่าบริษัทไหนที่สามารถทำสำเร็จจนกลายเป็น Unicorn รายแรกของประเทศไทย ซึ่งหากบอกชื่อไปทุกคนต้องร้องอ๋อ เพราะบริษัทนั้น เป็นบริษัทขนส่งน้องใหม่สีเหลือง อย่าง Flash Express ที่ตีตลาดขนส่งของประเทศไทยแตกกระเจิง เอาชนะรุ่นพี่ อย่างสีส้ม เคอรี่ สีแดง J&T ได้อย่างสบาย
ซึ่งสีเหลืองอย่าง Flash Express นั้น นำทีมโดยซีอีโอ วัยหนุ่ม อายุ 30 ปี อย่าง คมสันต์ แซ่ลี ซึ่งบริหารธุรกิจนี้จนก้าวมาเป็นยูนิคอร์น ได้อย่างสง่าผ่าเผย ซึ่งปัจจุบันบริษัทแห่งนี้ ได้รับเงินระดมทุนไปแล้ว กว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาทไทย
นั่นจึงทำให้บริษัทนี้ กลายเป็น บริษัทไทยรายแรกที่ระดมทุนได้มากที่สุดโดยใช้ระยะเวลาแค่ 3 ปี หลังจากก่อตั้งเมื่อปี 2560 และเปิดให้บริการในปี 2561 ซึ่งผลจากการระดมทุนครั้งนี้ทำให้บริษัท มีมูลค่าธุรกิจมากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งตอนนี้สเตจในการกระดมทุน ของแฟลชเอ็กซ์เพลส ก็เข้ามาสู่ซี่รี่ยส์ E แล้ว โดยมีผู้ร่วมทุนร่ายใหม่อย่าง SCB 10X บริษัท จันวาณิชย์ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด
โดยปัจจุบันนั้นทางบริษัทฯ มีศูนย์ขนส่งกระจายสินค้าอยู่ 26 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมสำหรับบริษัทน้องใหม่รายนี้เลย เรียกได้ว่า การแข่งขันสำหรับตลาดขนส่งโลจิกส์ติก ในประเทศไทย น่าจะมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเหลือเกิน
หลังจากที่ก่อนหน้านั้น เจ้าเริ่มแรก อย่างเคอรี่ หรือแม้แต่ เจแอนด์ที ยังต้องผวา เพราะหาก แฟลชเอ็กเพลซ มีเงินทุนสำรองขนาดนี้เชื่อว่า ตลาดการขนส่ง อีกไม่เกินห้าปี จะต้องเป็นของบริษัทนี้ ไม่ช้าก็เร็วอย่างแน่นอน เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติของวงการแข่งขันทางธุรกิจอยู่แล้วที่ปลาใหญ่ต้องกินปลาเล็กเสมอ ยกเว้น ปลาเล็กจะมีพื้นที่ปลอดภัยเป็นของตัวเองเท่านั้น
สนับสนุนเรื่องราวโดย. gclub สมัครสมาชิก